Solutions for tomorrow

เทคโนโลยี ยูวี-ซี & โอโซน โดย Jimco

การบำบัดด้วยการฟอกอากาศ แบบยูวี-ซี & โอโซน 

เทคโนโลยี Jimco เป็นอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยปราศจากสารเคมี

 เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม JIMCO เป็นที่รู้จักจากทั่วโลก ในการฟอกอากาศและกำจัดเชื้อโรคบนพื้นผิวอย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 99.99%.​

กระบวนการของเทคโนโลยี JIMCO เรียกว่า Photolytic oxidation ออกซิเดชั่นด้วยแสง ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างโฟโตลิซิสกับโอโซน จำเป็นต้องใช้ทั้งสองกระบวนการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ 

Photolytic oxidation​ ออกซิเดชั่นด้วยแสง

โฟโตลิซิสเป็นกระบวนการสลายตัวด้วยแสงและเป็นผลของรังสียูวี-ซี โมเลกุลอินทรีย์ (เช่น แบคทีเรีย เชื้อโรค ไขมัน สปอร์เชื้อรา และไวรัส) จะถูกทำลายโดยโฟตอนเมื่อสัมผัสกับแสงยูวี-ซี  ส่วนโอโซโนลีซิส เป็นกระบวนการออกซิเดชั่นและเป็นผลของโอโซนธรรมชาติที่ผลิตโดยหลอดไฟ 

โฟโต้ที่ย่อยสลายและโมเลกุลอินทรีย์ที่แตกจะสัมผัสกับโอโซน โอโซนจะทำการเผากับโมเลกุลอินทรีย์และออกซิไดซ์ กระบวนการโฟโต้ไลติกออกซิเดชั่น ออกซิเดชั่นด้วยแสงนี้ จะไม่ทิ้งสารประกอบระเหยสู่สิ่งแวดล้อม   

​เมื่อเซลล์สัมผัสกับรังสียูวีในช่วง 200–300 นาโนเมตร เซลล์จะถูกดูดซึมเข้าสู่ DNA RNA และโปรตีน การดูดซับรังสียูวีจะทำลายผนังเซลล์และทำลาย  DNA ในจุลินทรีย์ เมื่อไวรัสสัมผัสกับยูวี-ซี ยูวี-ซีจะทำลายชั้นเคลือบโปรตีนชั้นนอกซึ่งนำไปสู่การยับยั้งการทำงานของไวรัส เมื่อปิดใช้งาน ไวรัสจะไม่สามารถแพร่เชื้อสู่คุณได้อีก  

โอโซนเป็นตัวฆ่าเชื้อตามธรรมชาติของโลก โอโซนจะยับยั้งไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยทำลายเปลือกหุ้มไขมัน ไกลโคโปรตีนและแคปสิดโปรตีน
  

เชื้อโรคต่างๆมีความอ่อนไหวต่างกันและไวรัสที่ห่อหุ้มมีแนวโน้มที่จะอ่อนแอกว่ามากเมื่อเทียบกับไวรัสที่ไม่ห่อหุ้ม (ไวรัสเปลือยๆ) ไวรัสที่ห่อหุ้มมีเปลือกล้อมรอบแคปสิด ซึ่งโดยปรกติเปลือกจะถูกทำลายได้ง่ายขึ้นด้วยความร้อน สารฆ่าเชื้อทางเคมี ยูวี และโอโซน 

ไวรัส: จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียที่ไม่สามารถเติบโตหรือสืบพันธุ์ได้นอกเหนือจากในเซลล์ที่มีชีวิต ไวรัสจะบุกรุกเซลล์ที่มีชีวิตและใช้กลไกทางเคมีเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตอยู่รอดและเรพลิเคตตัวเอง ไวรัสอาจมี DNA หรือ RNA เป็นสารพันธุกรรม

เทคโนโลยีการบำบัดด้วยการฟอกอากาศด้วยยูวี-ซี & โอโซนของ JIMCO

 ยูวี - แสงอัลตร้าไวโอเลต

คนส่วนใหญ่รู้จักแสงอัลตร้าไวโอเลตจากหลอดยูวีสีฟ้า หรือรังสีจากดวงอาทิตย์ที่คุณสามารถป้องกันตัวเองด้วยครีมกันแดด 

ที่หลายๆคนไม่รู้ก็คือแสงยูวี มีอยู่ 3 ประเภท คือ 

ยูวี-เอ, ยูวี-บี และ ยูวี-ซี

ความแตกต่างระหว่างชนิดของรัวสีขึ้นอยู่กับความยาวของคลื่นที่วัดเป็นนาโนเมตร (นม.) 

​แถบแสงแยกสียูวี

ยูวี-เอ – คลื่นยาว 315-400 นม.

ยูวี-เอ เป็นส่วนหนึ่งของแสงแดดธรรมชาติจากพื้นผิวโลก รังสียูวี-เอ ทำให้เกิดกระบวนการโฟโตเคมีที่แตกต่างกัน มีเม็ดสีที่มองเห็นได้ แต่ในกระบวนการไม่มีอิทธิพลของเม็ดเลือดแดง การสัมผัสเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดความเสียหายทางกายภาพ ริ้วรอยก่อนวัยของผิวหนัง ความเสียหายทางพันธุกรรมทางอ้อม และมะเร็งผิวหนังได้ 

ยูวี-บี คลื่นปานกลาง 280-315 นม.

รังสียูวี-บี อาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังและเป็นสาเหตุหลักของการถูกแดดเผา การได้รับสารมากเกินไปอาจทำให้เกิดต้อกระจก การกดภูมิคุ้มกัน และความเสียหายทางพันธุกรรม ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ  เช่น มะเร็งผิวหนัง  ยูวี-บี แสดงให้เห็นทั้งการสร้างเม็ดสีและอิทธิพลของเม็ดเลือดแดง  ชั้นโอโซนสามารถคัดกรองยูวี-บีได้ดีมาก อย่างไรก็ตามยูวี-บี บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ความยาวคลื่นที่ยาวที่สุดไปถึงพื้นผิวและมีความสำคัญต่อการผลิตวิตามินดีของผิวหนัง 

ยูวี-ซี คลื่นสั้น 100 – 280 นม.

ยูวี-ซี เกิดจากแสงแดดตามธรรมชาติ และเป็นอันตรายต่อคนหากสัมผัสกับยูวี-ซี ยูวี-ซี ถูกกรองโดยชั้นโอโซนทั้งหมด และจะไม่มีวันไปถึงพื้นผิวโลก ยูวี-ซี มีผลร้ายแรงต่อเชื้อโรค และยังสามารถทำให้เกิดผื่นแดงและเยื่อบุตาอักเสบได้   (ดูด้านล่าง)

​รังสียูวีมาจากดวงอาทิตย์ ยูวีส่วนใหญ่ถูกดูดซับเข้าสู่ชั้นโอโซนและบรรยากาศ ในขณะที่ 3% – 4% มาถึงพื้นดิน

95% ของรังสียูวีทั้งหมด ที่มาถึงโลกก็คือยูวี-เอ และอีก 5% ที่เหลือคือยูวี-บี และ ยูวี-ซี ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อใน DNA อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกดูดซึมเข้าสู่ชั้นโอโซนและชั้นบรรยากาศอย่างสมบูรณ์

​ผลผลิตยูวี-ซี

ประวัติของยูวี-ซี

​เป็นเวลานานแล้วที่เราทราบกันดีว่าแสงแดดป้องกันไม่ให้แบคทีเรียแพร่กระจายได้

​ในปีค.ศ. 1977 นักวิจัยชาวอังกฤษ 2 นาย มร. ดาวนส์และ มร. บล้าวท์ (Downes, A., Blount T.P.: นักวิจัยเกี่ยวกัยผลกระทบของแสงแดดต่อแบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ London: Proc. Royal Society, 1877) พบว่าการเพาะพันธุ์จุลินทรีย์จะหยุดเมื่อสัมผัสกับแสงแดด

ในขณะนั้นยังไม่สามารถอธิบายกระกายที่เกี่ยวข้องได้ การวิจัยในภายหลังพบว่าผลกระทบดังกล่าวมาจากส่วนที่มองไม่เห็นของการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่อยู่ต่ำกว่า 320 นม.
เมื่อความรู้นี้ปรากฎชัด ก็เป็นไปได้ที่จะพัฒนาแหล่งกำเนิดรังสีเทียมเพื่อทำลายแบคทีเรีย

สิ่งนี้นำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในด้านของการฆ่าเชื้อในอากาศ รวมถึงการฆ่าเชื้อบนพื้นผิวจของวัสดุที่เป็นของแข็ง

ในวันนี้การฆ่าเชื้อด้วยแสงยูวี-ซี ไม่เพียงแต่มีค่ามากเท่านั้น แต่ยังมีความจำเป็นสำหรับวิธีการเพิ่มเติมในการฆ่าเชื้อโรคอื่นๆด้วย

​JIMCO ชอบผลิตอุปกรณ์ฟอกอากาศอัจฉริยะสำหรับทุกคน และด้วยประสิทธิภาพของยูวี-ซี เราจึงคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อให้คุณได้รับการบำบัดฟอกอากาศด้วยยูวี-ซีและโอโซนที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  

ยูวี-ซี ทำงานอย่างไรในขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรค

​ตามที่ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยและรายงานจำนวนมาก เมื่อเซลล์สัมผัสกับรังสียูวีในช่วง 200–300 นม. เซลล์นั้นจะถูกดูดซึมเข้าสู่ DNA, RNA และโปรตีน

การดูดซึ่มโปรตีนดังกล่าวจะทำลายผนังเซลล์และกำจัดการทำงานของ DNA และส่งผลให้ร่างกายปลอดเชื้อ

รังสียูวีจะถูกดูดซึมเข้าสู่ไทมีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่รากฐาน (อะดีนีน, กัวนีน, ไซโตซีน และไทมีน) ที่เชื่อมต่อโครงสร้างเกลียวคู่ของ DNA

เพื่อปิดใช้งานโครงสร้างเกลียวคู่ เมื่อกระบวนการนี้เกิดขึ้นใน DNA จะขัดขวางการสร้างโปรตีนเพื่อหยุดกระบวนการโคลนนิ่ง DNA ซึ่งในทางกลับกันเซลล์จะไม่ถูกนำกลับไปทำซ้ำ ปฎิกิริยานี้เป็นปฎิกิริยาแสงที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด เร็วกว่าวิธีการฆ่าเชื้อแบบอื่นๆ (แบบสารเคมีหรือความร้อนสูง) และไม่มีสารตกค้าง

โอโซน

​คนส่วนใหญ่รู้จักโอโซนในชั้นบรรยากาศของพื้นโลก สตาโตสเฟียร์ แต่โอโซนยังมีอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกด้วย   

โอโซนเป็นส่วนสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์โลก เนื่องจากโอโซนในชั้นโอโซนกำลังกรองรังสีอันตรายจากดวงอาทิตย์ และเนื่องจากโอโซนในโทรโพสเฟียร์เป็นตัวออกซิไดซ์ของแบคทีเรีย ไวรัส  ตะไคร่น้ำ และเชื้อรา โอโซนธรรมชาติใกล้พื้นผิวโลกมีบทบาทสำคัญในการกำจัดมลพิษทางเคมีออกจากชั้นบรรยากาศ 

โอโซนเป็นก๊าซที่ไม่เสถียรไม่มีสีมีกลิ่นฉุน วิธีอธิบายถึงกลิ่นที่ดีที่สุดคือกลิ่นในอากาศหลังฝนตกและฟ้าผ่า บางคนจะอธิบายว่ากลิ่นนั้นสดชื่นและบางคนก็ทนไม่ได้ 

โอโซนี่มีความเข้มข้นสูงเป็นอันตรายต่อมนุษย์ และด้วยเหตุนี้ก๊าซอันตรายทั้งหมดจึงถูกทำให้อ่อนตัวลงจนถึงค่าเกณฑ์ที่ 0.1 ppm – ซึ่งสอดคล้องกับ 0.22 มก. O3/m3 ในอากาศ

เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานของเดนมาร์กแนะนำว่าสภาพแวดล้อมการทำงานไมเกิด 0.1 ppm ตามคำแนะนำนั้น JIMCO สามารถให้การบำบัดอากาศด้วยยูวี-ซี & โอโซน แก่คุณ โดยปฎิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ 

โอโซนเกิดขึ้นได้อย่างไร

โมเลกุลของโอโซน (O3) ประกอบด้วยออกซิเจนสามอะตอมและสามารถทำได้เมื่อโมเลกุลออกซิเจนธรรมดา (O2) สัมผัสกับพลังงาน พลังงานจะแยกโมเลกุลออกซิเจนธรรมดา (O2) ออกจากออกซิเจนสองอะตอม (O) จากนั้นออกซิเจนอะตอมมิกจะรวมตัวกับโมเลกุลออกซิเจนธรรมดาที่ไม่เสียหาย  (O2) เพื่อสร้างโอโซน (O3) ในทางเคมี อธิบายไว้ดังนี้ Chemically, this can be described as:

O2 + energy → 2O

O + O2 ↔ O3

โอโซนเปลี่ยนกลับเป็นออกซิเจนหลังจากออกซิไดซ์ด้วยสารอินทรีย์ หากห้องปลอดเชื้อแล้วไม่มีอนุภาคทำปฎิกิริยากับโอโซนจะกลับคืนสู่ออกซิเจนเนื่องจากความร้อน ครึ่งชีวิตของโอโซนที่อุณหภูมิห้องเท่ากับ 3 วัน และที่  120°C เท่ากับ 28 นาที

โอโซนไหลเวียนในอากาศอย่างอิสระ เมื่อสัมผัสกับไวรัสหรือแบคทีเรียต่างๆ ในอากาศ โมเลกุลที่สามของโอโซนจะถูกแยกออกจากกันและเกาะติดกับสารมลพิษ ขจัดมลพิษออกไป

นี่คือวิธีที่ธรรมชาติชำระล้างตัวเองบนโลก

HOW DOES JIMCO CREATE THE OZONE LAMP?​

แสงแดด

สร้างโอโซนในโลกธรรมชาติ (อันตราย สร้าง NOx):

โอโซนและ NOx เกิดขึ้นเมื่อสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย 

เช่น ไอเสียจากรถยนต์ (VOCs) และแสงแดดทำปฏิกิริยา

อากาศที่คุณหายใจ

ไฟฟ้าแรงสูง/ความถี่สูง

(ปล่อยโคโรนา)

ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ก็ถูกสร้างขึ้นเช่นกัน

เมื่อโอโซนถูกสร้างขึ้น

(รถยนต์ประเภทปล่อยแก๊สรถยนต์

ที่เป็นสารก่อมะเร็ง)

โอโซนถูกผลิตขึ้นโดยธรรมชาติโดยดวงอาทิตย์และทำงานเหมือนกับเครื่องฆ่าเชื้อของโลก

หลอด UV-C ที่ออกแบบพิเศษจาก JIMCO จะสร้างรังสีเฉพาะจากดวงอาทิตย์และสร้างโอโซนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในลักษณะเดียวกับดวงอาทิตย์และไม่มีสารปนเปื้อนใดๆ

​เทคโนโลยีบำบัดโดยการฟอกอากาศด้วย ยูวี-ซี & และ โอโซน ของเรา​

​ชั้นโอโซน

โอโซนส่วนใหญ่ (ประมาณ 90%) พบได้ในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ซึ่งเริ่มต้นจากพื้นผิวโลกประมาณ 10 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวโลก และขยายขึ้นไปในระดับความสูงประมาณ 50 กิโลเมตร บริเวณสตราโตสเฟียร์ที่มีความเข้มข้นของโอโซนสูงสุดมักเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นชั้นโอโซน 

ชั้นโอโซนแผ่ขยายไปทั่วโลกโดยมีการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงและความหนา โอโซนที่เหลือประมาณ10% พบได้ในโทรโพสเฟียร์ซึ่งเป็นบริเวณต่ำสุดของชั้นบรรยากาศระหว่างพื้นผิวโลกกับสตราโตสเฟียร์

ชั้นโอโซนมีโอโซนต่ำกว่า 10 ส่วนต่อล้าน (ppm) ในขณะที่ความเข้มข้นของโอโซนเฉลี่ยในชั้นบรรยากาศของโลกโดยรวมอยู่ที่ประมาณ t 0.3 ส่วนต่อล้าน (ppm).

โอโซนในสตราโตสเฟียร์ของโลกถูกสร้างขึ้นโดยแสงอัลตราไวโอเลตที่กระทบกับโมเลกุลของออกซิเจนทั่วไปที่มีอะตอมออกซิเจน (O2) สองอะตอม และแยกพวกมันออกเป็นอะตอมออกซิเจน(O) ออกซิเจนปรมาณูจะรวมตัวกับโมเลกุลออกซิเจนธรรมดาที่ไม่เสียหาย (O2) เพื่อสร้างโอโซน (O3) แสงยูวีจากดวงอาทิตย์ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานในกระบวนการนี้  

O2 + ℎνuv (photon) → 2O

O + O2 ↔ O3

รังสีอัลตร้าไวโอเลตที่มีความยาวคลื่น 100-200 นม. ก่อให้เกิดโอโซน (O3) จากโมเลกุลออกซิเจน (O2) นั่นคือวิธีการสร้างการบำบัดฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้วยยูวี-ซี & โอโซน ของ JIMCO  

แม้ว่าความเข้มข้นของโอโซนในชั้นโอโซนจะมีน้อยมาก แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต เนื่องจากดูดซับรังสีอัลตร้าไวโอเลตที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ 

โอโซนในชั้นโอโซนกำลังกรองรังสี ยูวี-ซีทั้งหมดที่มาจากดวงอาทิตย์ป้องกันไม่ให้ไปถึงพื้นผิวโลก เมื่อยูวี-ซี กระทบกับโมเลกุลของโอโซน มันจะสลายตัวโมเลกุลของโอโซน ในกระบวนการนั้นโมเลกุลของโอโซนจะเปลี่ยนกลับเป็นโมเลกุลออกซิเจน (O2). 

ในบรรยากาศที่ไม่มีมลพิษ ปริมาณโอโซนที่ผลิตและทำลายจะมีความสมดุลและความเข้มข้นทั้งหมดยังคงค่อนข้างคงที่ กระบวนการต่อเนื่องนี้เรียกว่าวัฎจักรโอโซน-ออกซิเจน  

ที่อุณหภูมิและความดันต่างกัน (เช่น ระดับความสูงที่แตกต่างกัน) มีอัตราการผลิตและปฎิกิริยาการทำลายล้างที่แตกต่างกันซึ่งนำไปสู่ความเข้มข้นที่แตกต่างกันไป  ความเข้มข้นของโอโซนสุงสุดอยู่ในชั้นสตาโตสเฟียร์ตอนล่าง ระหว่างประมาณ 18 กม. ถึง 26 กม. 

ลิ้งค์ไปยังงานวิจัยภายนอกเกี่ยวกับ UV-C & OZONE

จากความคิดเห็นและประสบการณ์ของเรา ยูวี-ซี และ โอโซน เสนอทางเลือกที่ปลอดภัยกว่ามากมายในด้านสุขอนามัย การฆ่าเชื้อ การกำจัดไขมัน การกำจัดคราบไขมัน และการกำจัดกลิ่น ตลอดจนการกำจัดและลดเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ถ้าหากใช้อย่างถูกวิธี 

 

ลิ้งค์ด้านล่างจัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้ในการใช้งานเท่านั้น เช่นเดียวกันกับประโยชน์และข้อเสียของการใช้ ยูวี-ซี และ โอโซน ซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้สารเคมี เช่น คลอรีน ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ แอลกอฮอล์ ฟอร์มาลดีไฮด์ กลูตาราลดีไฮด์ ไอโอโดฟอร์ ออร์โธพลาลดีไฮด์ (โอพีเอ) กรดเปอร์อะซิติก ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ฟีนอล และ สารประกอบควอเทอร์นารีแอมโมเนียม

 

โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการติดตั้ง ใช้งาน หรือทดสอบอุปกรณ์ ยูวี-ซี และ โฮโซน เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฎิบัติตามมาตรการป้องกันด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย

การทำความสะอาดอากาศด้วยการฉายรังสีอัลตราไวโอเลตช่วยลดการติดเชื้อในโรงพยาบาลระยะเฉียบพลันระยะยาว

By: Tina Ethington MSN, RN, CEN, NE-Bca, Sherry Newsome BSN, RN, MBA/MNAa, Jerri WaughBSN, RN, MBA/MHAa, Linda D. Lee DrPH, MBAb

Fast inactivation of SARS-CoV-2 by UV-C and ozone exposure on different materials

By: Elena Criscuolo, Roberta A. Diotti, Roberto Ferrarese,Cesare Alippi,Gabriele Viscardib , Carlo Signorelli, Nicasio Mancini, Massimo Clementi, and Nicola Clementi

Airborne Microorganism Inactivation by a UV-C LED and Ionizer-Based Continuous Sanitation Air (CSA) System in Train Environments

By: Giulia Baldelli, Mattia Paolo Aliano, Giulia Amagliani, Mauro Magnani, Giorgio Brandi, Carmelo Pennino, Giuditta Fiorella Schiavano

Effect of low-dose gaseous ozone on pathogenic Bacteria

By: Belchor Fontes, Ana Maria Cattani Heimbecker, Glacus de Souza Brito, Silvia F Costa,Inneke M van der Heijden, Anna S Levin and Samir Rasslan

Application of Ozone in Food Industries

By: L. VIKAS AND S.V. LAKSHMINARAYANA

Inactivation of Coronaviruses in food industry: The use of inorganic and organic disinfectants, ozone, and UV radiation

By: Roberto Quevedo-León, José Bastías-Montes, Teófilo Espinoza-Tellez, Betty Ronceros, Iván Balic, Ociel Muñoz

Decontamination of chilli flakes in a fluidized bed using combined technologies: Infrared, UV and ozone

By: Ian Watson, Prashant Kamble, Callum Shanks, Zakir Khana, Nada El Darra

Development of Ozone Technology Rice Storage Systems (OTRISS) for Quality Improvement of Rice Production

By: M Nur, E Kusdiyantini, W Wuryanti, T A Winarni, S A Widyanto and H Muharam

Different Uses of Ozone: Environmental and Corporate Sustainability. Literature Review and Case Study

By : Marco Remondino and Luigi Valdenassi

Extension of Fish Shelf Life by Ozone Treatment

By: Behrouz Mosayebi Dehkordi, and Neda Zokaie

Inactivation of microbes by ozone in the food industry

By: Mohamed Ziyaina and Barbara Rasco

Use of ozone in the dairy industry

By: László Varga,Jenő Szigeti

Ozone – an Emerging Technology for the Seafood Industry

By : Alex Augusto Gonçalves

Ozone Contribution in Food Industry in Japan

By: Shigezo Naito1and Hirofumi Takahara

The Application of Ozone Technology for Public Health and Industry

By: Laurence Franken, M.S.

Air disinfection and food preservation by ozone gas

By: Nguyen Hoang Nghi, Le Cao Cuong, Tran Vinh Dieu, Doan Thi Yen Oanh

Study of ozone disinfection in the hospital environment

By : Le Hoang Tu, Le Hoang Oanh, Nguyen Vu Trung, Le Cao Cuong, Doan Thi Yen Oanh, Tran Vinh Dieu, Nguyen Hoang Nghi

The Effect of Ozone on Common Environmental Fungi

By: William Korzun, Jeffery Hall and Ronald Sauer

Improving Indoor Air Quality Through The Use of Ultraviolet Technology In Commercial Buildings

By: Daniel de Robles, P.E., Scott W. Kramer, Ph.D

Recent case studies on the use of ozone to combat coronavirus

By: Soumya Nagashri Manjunath, M. Sakar, Manmohan Katapadi and R. Geetha Balakrishna

สำหรับการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ยูวี-ซี และ โอโซน เราสามารถแนะนำให้ใช้ Google Scholar

คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยูวี-ซี & โอโซน ได้จากที่นี่

Thank You for contacting us